วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557
โครงกระดูกไทแรนโนซอรัสเร็ก ซ์ ทำจากเหล็กโครเมี่ยม เป็นผลงานของศิลปินที่ชื่อว ่า Philippe Pasqua ปัจจุบันถูกติดตั้งไว้ที่ริ มแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และหันหน้าออกหาแม่น้ำ
เจ้าโครงกระดูกทีเร็กซ์โครเ มี่ยมนี้ถูกสร้างจากกระดูกแ ม่พิมพ์โครเมี่ยมกว่า 350 ชิ้น โดยมีความสูง 12 ฟุต (3 เมตร) และยาว 21 ฟุต (6 เมตร) เป็นการจำลองจากโครงกระดูกจ ริงที่ถูกขุดพบในประเทศจีน
เจ้าโครงกระดูกทีเร็กซ์โครเ
Route66
หลายคนคงเคยเห็นป้าย Route 66 ตามตลาดนัดจตุจักร หรือตามร้านอาหารที่ตกแต่งเป็นสไตล์อเมริกัน ตามร้านสเต็ก ร้านเบอร์เกอร์ อาจจะสงสัยว่าทำไมมีป้ายนี้เต็มไปหมด ทำไมถึงได้เป็นที่นิยมกันนัก เค้าฮิตอะไรกัน วันนี้จะมาเล่าเรื่อง ถนนสาย 66 หรือ Route 66 ให้รู้จักกัน
Route 66 เป็นชื่อถนนไฮเวย์สายประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน มีชื่อเรียกหลากหลายด้วยกัน บางคนเรียกว่า เดอะ มาเธอร์ โร้ด บ้างเรียก วิลล์ โรเจอร์ ไฮเวย์ โดยมีความยาวราว 2,448 ไมล์ หรือราว 3,939 กิโลเมตร หากขับรถยนต์อย่างหักโหมด้วยระยะทางเฉลี่ยวันละ 1,000 กิโลเมตร ยังต้องใช้เวลานานถึง 4 วันเต็มๆ กว่าจะถึงเป้าหมายปลายทาง
ถนนสายนี้สร้างเมื่อปี ค.ศ.1926 เดิมมีบทบาทในฐานะถนนที่ผู้คนใช้ในการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งปรากฏในนวนิยายเรื่อง ผลพวงแห่งความคับแค้น หรือ The Grapes of Wrath ของ จอห์น สไตน์เบ็ค ซึ่งตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของเกษตรกรจาก Dust Bowl แห่งโอคลาโฮมา เดินทางมุ่งตะวันตกมายังหุบเขา ซาน โฮควิน ในแคลิฟอร์เนีย
ปัจจุบันถนนนี้เหลือเพียงแต่ความเป็นประวัติศาสตร์เพราะว่าหลังจากทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับระบบ Highway ให้เป็น Interstate เส้นทางของถนนก็เปลี่ยนแปลงไป Route 66 เหลือเพียงแต่ความทรงจำ และมีบางส่วนที่ได้จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอาทิ Springfield, St. Louis, Santa Fe ฯลฯ
Route 66 เป็นชื่อถนนไฮเวย์สายประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมตะวันออกกับตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน มีชื่อเรียกหลากหลายด้วยกัน บางคนเรียกว่า เดอะ มาเธอร์ โร้ด บ้างเรียก วิลล์ โรเจอร์ ไฮเวย์ โดยมีความยาวราว 2,448 ไมล์ หรือราว 3,939 กิโลเมตร หากขับรถยนต์อย่างหักโหมด้วยระยะทางเฉลี่ยวันละ 1,000 กิโลเมตร ยังต้องใช้เวลานานถึง 4 วันเต็มๆ กว่าจะถึงเป้าหมายปลายทาง
ถนนสายนี้สร้างเมื่อปี ค.ศ.1926 เดิมมีบทบาทในฐานะถนนที่ผู้คนใช้ในการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งปรากฏในนวนิยายเรื่อง ผลพวงแห่งความคับแค้น หรือ The Grapes of Wrath ของ จอห์น สไตน์เบ็ค ซึ่งตอนหนึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของเกษตรกรจาก Dust Bowl แห่งโอคลาโฮมา เดินทางมุ่งตะวันตกมายังหุบเขา ซาน โฮควิน ในแคลิฟอร์เนีย
ปัจจุบันถนนนี้เหลือเพียงแต่ความเป็นประวัติศาสตร์เพราะว่าหลังจากทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาปรับระบบ Highway ให้เป็น Interstate เส้นทางของถนนก็เปลี่ยนแปลงไป Route 66 เหลือเพียงแต่ความทรงจำ และมีบางส่วนที่ได้จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอาทิ Springfield, St. Louis, Santa Fe ฯลฯ
วันจักรี
ในทุก ๆ วันที่ 6 เมษายน ของทุกปีนั้นถือเป็นสำคัญอีกวันหนึ่งของไทย นั่นคือ วันจักรี ซึ่งเป็นวันที่เราจะร่วมกันระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมถึงมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงนำประวัติและความสำคัญของวันนี้มาฝากกันค่ะ
ประวัติการตั้งชื่อวันจักรี นั้นเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ. 2325 นั้นเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และยังทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยอีกด้วย และยังเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรีซึ่งเป็นราชวงศ์ที่ครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ซึ่งก็คือรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงข้าราชการและประชาชน ได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง
โดยได้มีการโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และได้มีการย้ายที่อีกหลายครั้งไม่ว่าจะเป็นพระพี่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาทหรือพระที่นั่งศิวาลัยปราสาท ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงโปรดให้ย้ายพระบรมรูปของทั้ง 4 พระองค์ มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5
ซึ่งการซ่อมแซม ก่อสร้าง และประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล มาแล้วเสร็จในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 จึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายน ในปีนั้น และได้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกว่า "วันจักรี"
และทั้งหมดก็คือความเป็นมาของวันจักรี ที่ไม่ได้เป็นเพียงแค่วันหยุดราชการธรรมดาๆแต่เป็นวันที่ประชาชนทุกคนควรระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)