ข้อควรระวังเมื่อชอบกินอาหารรสเค็ม
- จากการศึกษา พบว่า ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มเป็นประจำ จะมีพฤติกรรมการกินของหวานและเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากกว่าผู้ที่ไม่รับประทานรสเค็ม เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับโซเดียม ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ในเกลือและสารที่ให้ความเค็มอื่นๆ ร่างกายจะมีความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายที่สูงขึ้น และส่งผลให้ร่างกายต้องการน้ำเพราะจะรู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น และจากงานวิจัยระบุว่า เครื่องดื่มที่ผู้คนส่วนใหญ่ที่ชอบรับประทานรสเค็มเลือกนั้น ก็คือ เครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน จึงทำให้ได้รับน้ำตาลสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มมีความเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนได้ง่ายกว่า
- โดยปกติแล้วระบบประสาทการรับรู้รสชาติของอาหารที่ลิ้นจะลดน้อยลงเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าคนที่ชอบกินอาหารรสเค็มจะเพิ่มความเค็มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพ
- การกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะไตเสื่อม เนื่องจากไตซึ่งเป็นอวัยวะที่กรองของเสียและน้ำออกนอกร่างกายจะต้องทำงานหนัก เมื่อมีโซเดียมในร่างกายสูง และเมื่อต้องทำงานหนักเป็นประจำไตก็จะเสื่อมเร็วขึ้น
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและตามมาด้วยความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องมาจากการที่ร่างกายได้รับโซเดียมจะไปเพิ่มเซลล์กล้ามเนื้อของหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดความดันโลหิตที่สูงขึ้นและหัวใจทำงานหนักมากขึ้น
- การได้รับปริมาณของโซเดียมสูงในระยะยาวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม
วิธีการลดปริมาณโซเดียมจากอาหาร
- เน้นการกินอาหารสดมากกว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป
- หลีกเลี่ยงหรือกินแต่น้อยสำหรับอาหารที่มีรสเค็มมาก เช่น อาหารดองเค็ม อาหารกระป๋อง อาหารตากแห้งเค็ม
- ชิมอาหารก่อนปรุง หากจะใส่เครื่องปรุงควรใส่ทีละน้อย
- ใช้เครื่องจิ้มต่างๆ ในปริมาณน้อย เช่น น้ำจิ้มไก่ ซีอิ๊วหวาน น้ำจิ้มแจ่ว น้ำพริกต่างๆ เพราะมักจะมีรสเค็ม
- อ่านฉลากโภชนาการในปริมาณของโซเดียมทั้งหมด
- ใช้สมุนไพรในการปรุงประกอบอาหารจะช่วยให้รสชาติอาหารดีขึ้นโดยช่วยลดการเติมเกลือลงในอาหาร
- ทำอาหารทานเอง เพื่อเลือกวัตถุดิบที่นำมาปรุงได้
- ลดการทานอาหารที่ใช้ผงฟูเป็นส่วนประกอบ พวกขนมปัง เบเกอร์รี่ต่างๆ
รสเค็มกับความอ้วน
แม้ว่าเกลือจะไม่มีไขมันและแคลอรี แต่เกลือก็เป็นตัวการทำให้ร่างกายมีอาการบวมน้ำได้ เนื่องจากร่างกายคนเรามีกลไกปรับสมดุลระหว่างน้ำและเกลือไม่ต่างจากเครื่องจักร ดังเช่น ธรรมชาติกำหนดให้น้ำในสระมีปริมาณเกลือได้หนึ่งช้อนต่อน้ำหนึ่งลิตร หากมีคนแอบเติมน้ำลงไปหนึ่งลิตร ร่างกายก็จะสรรหาปริมาณเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช้อนชาทันที ในทางกลับกันหากมีคนแอบเติมเกลือลงไปหนึ่งช้อนชา ร่างกายก็จะหาน้ำมาเจือจางอีกหนึ่งลิตร ซึ่งองค์การอาหารและยากำหนดให้ในหนึ่งวันเราควรได้รับเกลือปริมาณ 2,300 มิลลิกรัมหรือเทียบเท่ากับหนึ่งช้อนโต๊ะ แต่ข่าวร้ายก็คือในชีวิตประจำวันเรามักได้รับเกลือโซเดียมจากอาหารที่กินโดยไม่รู้ตัวเสมอ เช่น อาหารแช่แข็ง อาหารที่ผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน และเครื่องปรุงชนิดต่างๆ ที่ไม่มีรสเค็มแต่อุดมไปด้วยโซเดียมทำให้ร่างกายได้รับเกลือมากกว่าปริมาณมาตรฐานเกือบสองเท่าและนี่คือสาเหตุว่าทำไมคนที่ควบคุมการกินอย่างเคร่งครัด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่น้ำหนักตัวก็ยังคงเท่าเดิม
อาหารอุดมโซเดี่ยม
- ซุปต่างๆ - ซุปหลากชนิดมักอุดมไปด้วยเกลือและโซเดียม โดยเฉพาะซุปกระป๋องเพราใส่เครื่องปรุงมาก คาดกันว่าในซุปหนึ่งกระป๋องจะมีปริมาณเกลือถึง 1,000 มิลลิกรัม
- ชีส - คนรักชีสต้องโอดครวญกันเป็นแถว เพราะในชีสเพียงหนึ่งชิ้นเล็กก็มีปริมาณโซเดียมมากถึง 500 มิลลิกรัม
- ขนมบรรจุถุง - เป็นที่รู้กันดีว่าอาหารบรรจุในถุงมักมีปริมาณเกลือมากเป็นพิเศษเพื่อยืดอายุของอาหารให้อยู่ได้นานยิ่งขึ้น
- อาหารแช่แข็ง - อาหารแช่แข็งนั้นต้องยืดอายุการใช้งานให้นานที่สุดเช่นเดียวกับขนมบรรจุถุง นอกจากนี้ผลไม้และวัตถุดิบอื่นที่นำมาทำอาหารแช่แข็งก็มักจะยังไม่สุกดีจึงมักไม่มีรสชาติ ทำให้ต้องเติมผงชูรสและเกลือมากเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มรสชาติด้ว
- ซอสมะเขือเทศ - เเม้เเต่ซอสมะเขือเทศที่เราทานๆกันก็มีปริมาณเกลือถึง 178 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชาเลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น