เรือนกระจก หรือภาวะโลกร้อน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศต่างๆของโลก และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในที่สุด โดยในอนุสัญญามีการกำหนดปริมาณก๊าซที่เป็นระดับที่จะรักษาไว้เป็นตัวเลขแน่ นอน ด้วยหลักการป้องกันไว้ก่อน หลักความรับผิดชอบ
ร่วมกันในระดับที่แตกต่าง หลักการสื่อสารด้านข้อมูลข่าวสาร และหลักการให้การช่วยเหลือกลุ่มที่ด้อยกว่า จากหลักการทั้งหมด
ที่กล่าวมาก่อให้เกิดข้อตกลง หรือกฎข้อบังคับอื่นตามมา ได้แก่ พิธีสารเกียวโต อนุสัญญาฯ มีเป้าหมายหลัก คือ ทำให้ปริมาณ
ก๊าซเรือนกระจกคงที่ เพื่อให้ระบบนิเวศสามารถปรับตัวได้ การผลิตอาหารมั่นคง และมีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 1992 ได้ลงนามในอนุสัญญาครั้งแรกที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 1994 ประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาต้องทำการประเมินปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมต่าง ๆ ( Inventory of Greenhouse Gases) ซึ่งเป็นวิธีการเบื้องต้นที่ทำให้ทราบสัดส่วนในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของแต่ละประเทศ โดยให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว ตามบัญชีชื่อต่อท้าย อนุสัญญา ที่เรียกว่า Annex I Countries มีพันธกรณีที่ต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญา ส่วนประเทศไทยและประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ จัดอยู่ในกลุ่ม Non-Annex ไม่มีพันธะกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพราะสัดส่วนของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังต่ำกว่ากลุ่มประเทศ Annex I ซึ่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก
จากการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มข้นในยุคอุตสาหกรรม และมีส่วนสำคัญที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศไทยลงนามในอนุสัญญา ตั้งแต่วันที่ 12 มิถุนายน 1989 และให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1994 มีผลบังคับใช้วันที่ 28 มีนาคม 1995 โดยไทยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นผู้กำหนดท่าทีของประเทศไทย โดยรายตรงต่อคณะรัฐมนตรี ประเทศไทยได้ดำเนินการตามพันธกรณีที่มีต่ออนุสัญญา UNFCCC ในฐานะประเทศกำลังพัฒนา พันธกรณีที่สำคัญคือการลดก๊าซเรือนกระจกและการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล (การจัดทำรายงานแห่งชาติ) โดยประเทศไทยได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน การอนุรักษ์ป่าไม้ การปลูกป่า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการเสริมสร้างจิตสำนึกและให้ความรู้แก่ประชาชนอีกด้วย
เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศส่งผลกระทบในวงกว้าง รวมถึงผลกระทบต่อ ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ ระบบนิเวศชายฝั่ง และทรัพยากรประมง ประเทศไทยได้ดำเนินงานเพื่อรับมือและปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ได้แก่ การปลูกป่าชายเลน เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง เพิ่มแหล่งเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำ และเพื่อเป็นพื้นที่กันชน
ที่ลดความรุนแรงปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานหลัก ซึ่งกรมฯ ได้จัดทำยุทธศาสตร์
การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ เพื่อบริหารจัดการแนวชายฝั่งทะเลทั่วประเทศโดยการจัดการพื้นที่เชิงบูรณาการ นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้จัดทำโครงการแนวทางการจัดการ พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วม โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟู
ทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ต่างๆ โครงการจัดสร้างปะการังเทียม โครงการสงวนคุ้มครองสัตว์และระบบนิเวศทางทะเล โครงการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โครงการจัดการที่ดินชายทะเล นอกจากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวแล้ว กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จัดทำแผนการดำเนินงานว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของกรมฯ
พ.ศ. 2551-2562 ตามแผนกรอบยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการจัดการการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2551-2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น