วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

10 อันดับสนามบิน “ที่สวยที่สุดในโลก”

10 อันดับสนามบิน “ที่สวยที่สุดในโลก”

Beautiful-Airport
อันดับ 10 “Auckland Airport”
สนามบินนานาชาติโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ สามารถรองรับผู้โดยสารจาก 20 สายการบินนานาชาติกว่า 45 เที่ยวต่อชั่วโมง การันตีด้วยรางวัลสนามบินยอดเยี่ยมประจำ ภูมิภาคออสเตรเลีย/แปซิฟิก จากการคัดเลือกของ Skytrax World Airport ถึง 4 ปีซ้อน?และด้วยความที่สนามบินนานาชาติแห่งนี้เป็นแหล่งขนส่งสินค้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่า 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการจ้างงานกว่า 1,000 ตำแหน่งอีกด้วย
Auckland Airport credit by : www.moodiereport.com

อันดับ 9 “Montevideo Carrasco”

นักเดินทางหลาย ๆ คนอาจเบื่อความพลุ่งพล่านในสนามบิน ถ้าอยากจะหาสนามบินสักแห่ง ที่คุณสามารถอ่านหนังสือระหว่างรอเที่ยวบินอย่างสงบล่ะก็ สนามบินมอนเตวิเดโอ คาร์ราสโก้ ที่ประเทศอุรุกวัย น่าจะเป็นหนึ่งในตัวเลือกของคุณ สนามบินแห่งนี้พื้นใช้งานที่กว้างขวาง โครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเสน่ห์ สะอาด และเงียบสงบ ไม่มีผู้คนเดินกันให้วุ่นวาย?และมีร้านอาหารเต็มรูปแบบพร้อมให้บริการอีกด้วย
Montevideo Carrasco credit by : www.elero.com

อันดับ 8 “Victoria International”

สนามบินนานาชาติวิคตอเรีย สนามบินภูมิภาคขนาดเล็กในประเทศแคนาดา มีชื่อเสียงในเรื่องความสะดวกสบายและการต้อนรับที่แสนเป็นมิตร ซึ่งน้อยสนามบินนักที่จะสามารถทำได้แบบนี้ นอกจากนี้การเดินทางจากเกาะแวนคูเวอร์มาสนามบินแห่งนี้ก็ใช้เวลาไม่มากเพียงแค่ 20 นาทีจากที่พัก ซึ่งถ้าเป็นสนามบินอื่นๆทั่วไปในโลก?พอลงจากเครื่องไปหาที่พัก หรือจากที่พักไปขึ้นเครื่องต้องเผื่อเวลาเดินทางเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว
Victoria International credit by :www.vibrantvictoria.ca

อันดับ 7 “Zurich Airport”

ท่าอากาศยานซูริค?หรือที่รู้จักในอีกชื่อว่า สนามบินเคลอเตน (Kloten) ตั้งอยู่ในเมืองเคลอเตน เขตปกครองซูริค?สนามบินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์?อาจเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับนักเดินทางหลาย ๆ คนที่ไม่ชอบความแออัดของผู้คนที่ใช้บริการ?แต่เรื่องการบริการรถรับส่งผู้โดยสารที่รวดเร็วทันใจ รับรองไม่พลาดตกเครื่องอย่างแน่นอน?และยังมีระบบรักษาความปลอดภัยระดับโลกอีกด้วย
Zurich Airport credit by : www.zurich-airport.com

อันดับ 6 “Tampa International”

สนามบินนานาชาติแทมป้า ตั้งอยู่ในรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกา เดิมชื่อสนามบินดรูว์ฟิลด์ ฟลอริด้า ที่ทุกช่วงของซัมเมอร์หรือช่วงฤดูหนาวเหล่านักท่องเที่ยวจะเดินทางมาอาบแดดกันที่นี่ และสนามบินนานาชาติแทมป้าก็พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวเช่นกัน?จุดเด่นของสนามบินอยู่ตรงที่ความสะดวกสบายในเรื่องการเดินทาง สนามบินห่างจากที่พักชายทะเลประมาณ 10 กิโลเมตรเท่านั้น?เครื่องลงปุ๊บ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางหาที่พักได้ทันที ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องค้างในเทอร์มินอลเป็นเวลานาน
Tampa International credit by : www.lexussociety.com

อันดับ 5 “Ushuaia-Malvinas Argentinas International”

ท่าอากาศยานนานาชาติอูซัวเอ มัลวิย่า ตั้งอยู่ในเมืองเตียร์ราเดล ฟวยโก้ ประเทศอาร์เจนติน่า หลายคนคงเบื่อบรรยากาศสภาพของห้องผู้โดยสารขณะรอขึ้นเครื่อง มองไปทางไหนก็ไม่มีอะไรน่าสนใจ หรือบางที่แย่สุดเจอห้องพักผู้โดยสารที่เก่าและมีกลิ่นอับยิ่งโชคร้ายไปกันใหญ่?สนามบินแห่งนี้ ปรับเปลี่ยนบรรยากาศห้องพักที่แปลกสะดุดตา?ให้อารมณ์ผ่อนคลายสายตาระหว่างรอขึ้นเครื่อง กับห้องเล้านจ์สไตล์บ้านไม้ที่ให้บรรยากาศอบอุ่นสบาย มีอาหาร เครื่องดื่มและ Wi- Fi ให้เล่นอินเตอร์เนตฆ่าเวลาอีกด้วย

Ushuaia-Malvinas Argentinas International credit by : http://www.lexussociety.com

อันดับ 4 “Munich Airport”

ท่าอากาศยานมิวนิกฟรานซ์โยเซฟชเทราซ์ เพื่อเป็นเกียรติต่อฟรานซ์ โจเซฟ สเตราส์ อดีตผู้ว่าการรัฐบาวาเรีย?สนามบินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศเยอรมันนี และเป็นฐานการบินของสายการบินลุฟต์ฮันซ่า สนามบินแห่งนี้ สะอาด กว้างขวาง อำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารด้วยแหล่งช็อปปิ้ง พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ แถมมีเตียงนอนให้ผู้โดยสารพักผ่อนระหว่างรอขึ้นเครื่อง??พร้อมระบบการรักษาความปลอดภัยมาตราฐานสากล ทำให้ที่นี่เรียกว่า ?ความภาคภูมิใจของชาวบาวาเรียน? ก็ว่าได้ทีเดียว
Munich Airport credit by : www.airlines99.blogspot.com

อันดับ 3 “Seoul Incheon”

ท่าอากาศยานนานาชาติโซล อินซอน ประเทศเกาหลีใต้?เพิ่งคว้ารางวัลสนามบินที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2012 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสกายแทร็กซ์?ท่าอากาศยานนานาชาติอินชอนได้รับการลงคะแนนให้เป็นท่าอากาศยานที่ดีที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นฐานการบินหลักของสายการบินโกเรียนแอร์?ภายในสนามบินประกอบไปด้วย สวนต้นไม้ ห้องนอน ห้องอาบน้ำ สปาผ่อนคลายความล้า ห้องเล้านจ์บริการอินเตอร์เนต และคอร์ทเล่นกอล์ฟ เรียกว่าครบวงจร
Seoul Incheon credit by :www.airports.findthebest.com

อันดับ 2 “Singapore Changi”

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกทั่วไปว่า สนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์?สนามบินจุดหมายปลายทางสำคัญของอาเซียน??ภายในสนามบินตกแต่งและจัดสรรพื้นที่ได้สวยงาม โล่งโปร่ง ครบครันด้วยส่วนอำนวยความสะดวกต่าง ๆ?พื้นที่เป็นสระน้ำ อ่างอาบน้ำและนวดสปา ห้องนั่งเล่นและบาร์บริการเครื่องดื่มและอาหาร พื้นที่เล่นอินเตอร์เนตและโรงภาพยนตร์ฟรี และยังมีสวนผีเสื้อให้สามารถสัมผัสใกล้ชิดธรรมชาติได้อีกด้วย
Singapore Changi credit by : www.thewanderingpalate.com

อันดับ 1 “Hong Kong International”

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กแล็บก็อก เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน?ด้วยมาตรฐานระดับห้าดาวและการออกแบบที่สวยงามทันสมัย?ตามบันทึกสถิติใน Guinness World Records แล้ว โครงการนี้เป็นโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานที่ใช้งบประมาณสูงที่สุด และการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้ยังได้รับการลงคะแนนให้เป็น 1 ใน 10 สุดยอดงานก่อสร้างแห่งศตวรรษที่ 20?ภายในสนามบินมีพื้นที่ขนาดใหญ่ประกอบด้วย สระว่ายน้ำ ห้องเล้านจ์ไว้ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ห้องทดสอบกอล์ฟ ร้านอาหารหรู โรงภาพยนตร์ระบบ 4 มิติ พร้อมเปิดให้บริการฟรี Wi -Fi ?จึงไม่น่าแปลกถ้าสนามบินแห่งนี้จะมีความพลุกพล่านมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
Hong Kong International credit by : www.nairaland.com

วันฉลองนักบุญทั้งหลาย วันผู้ล่วงลับ

สมโภชนักบุญทั้งหลาย

ตั้งแต่แรกพระคัมภีร์ได้สงวนนามนี้ “ นักบุญ” หรือ “ ผู้ศักดิ์สิทธิ์” ไว้สำหรับพระยาเวห์แต่เพียงผู้เดียว เพราะว่าพระเจ้า คือ 
“ อีกผู้หนึ่ง” หรือ “ ผู้อื่น” ซึ่งอยู่นอกเหนือสิ่งทั้งหลาย พระองค์ทรงอยู่ห่างไกลจากเราเหลือเกินจนเราไม่อาจคิดได้ว่า
เราจะสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์ได้อย่างไร เมื่อมาอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระ เจ้า ผู้เป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง
(ปฐก 28:10-19; 1 ซมอ 6:13-21; 2 ซมอ 6:1-10) มนุษย์ไม่สามารถจะทำอะไรอย่างอื่นได้นอกจากกราบไหว้นมัสการ
และยำเกรงพระองค์ ( อพย 3:1-6; ปฐก 15:12)

ในศาสนานี้สามารถช่วยให้รอดได้เช่นของพวกอิสราแอล พระเจ้าเองต้องเป็นผู้ประทานความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์
ให้แก่ประชากรของพระองค์ ( อสย 12:6-29; 19-23;30: 11-15;31:1-3) ซึ่งตัวเขาเองได้กลายเป็น “ อีกผู้หนึ่ง” เหมือนกัน โดยเขาจะประพฤติตนแตกต่างไปจากชนชาติอื่น ๆ จากการเจริญชีวิตประจำวันของพวก เขา และเป็นต้นจากการแสดงออก
ของพวกเขาโดยทางจารีตพิธีกรรมต่างๆ (ลนต19:1-37;21: 1-23 ; วว 4:1-11) แต่ว่าเพื่อจะสามารถบันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้บรรลุผลสำเร็จ ตามที่พระเจ้าได้ทรงเรียกพวกเขามายังความศักดิ์สิทธิ์นี้นั้น ประชากรผู้ได้รับเลือกสรรไม่มีวิธีการอะไรอย่างอื่นนอกจากการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ และการปฏิบัติการชำระล้าง
ให้สะอาดหมดจด (ปราศจากมลทิน)ทางด้านภายนอกเท่านั้น ไม่ช้าไม่นาน พวกเขาได้มีจิตสำนึกถึงความไม่เพียงพอของวิธีการต่างๆ
เหล่านี้ พวกเขาจึงได้เจาะจงแสวงหาวิธีการใหม่ที่จะสามารถช่วยพวก เขาให้ได้มีส่วนในชีวิตของพระเจ้า วิธีการใหม่นี้ก็คือ
“ หัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์” ( อสย 6:1-7; สดด 14; อสค 36: 17-32; 1 ปต 1:14-16) พวกเขาได้ตั้งความหวังไว้ว่า
ความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาจะได้รับนั้นต้องมาจากพระเจ้าโดยตรง (อสค 36: 23-28)


ความหวังหรือความปรารถนาอันนี้ได้สำเร็จหรือได้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในองค์พระคริสตเจ้าในตัวพระองค์ เอง
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงฉายแสงออกมาให้ปรากฎในตัวพระองค์ และ “ พระจิตแห่งความศักดิ์สิทธิ์”
ทรงสถิตอยู่ในพระองค์ พระองค์ได้ทรงรับตำแหน่ง “ องค์ความศักดิ์สิทธิ์” ( ยน 3:1-5; 1 คร 3:16-17; กท 5:16-25; รม 8: 9-14)
และอันที่จริงพระองค์เสด็จมาในโลกนี้ก็เพื่อจะช่วยมนุษยชาติได้กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ

1. ขอให้ผู้ที่ร้องไห้ได้รับการปลอบโยน ขอให้ผู้ที่หิวกระหายความยุติธรรมได้อิ่มหน่ำและขอให้ผู้มีเมตตาได้รับความเมตตาเช่นกัน
2. ขอให้บูชามิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ช่วยแปรสภาพพวกเราให้กลายเป็น “ ผู้ศักดิ์สิทธิ์” กลายเป็น “ นักบุญ” ด้วยเถิด

พระเยซูเจ้า พระองค์ได้ทรงกลายเป็น “ พระคริสตเจ้า” หรือ “ เจ้านายผู้ศักดิ์สิทธิ์” และได้ทรงถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์
ของพระองค์นี้ให้แก่มนุษย์ (มธ 13: 24-30; 25: 2; คส 1:22; 2 คร 1:12)

ในศตวรรษแรก ๆ คำสอนเรื่องนี้มีชีวิตชีวามากจนว่าสมาชิกของพระศาสนจักรในเวลานั้นไม่ได้ลังเลใจที่จะเรียกตัวเองว่า
“ นักบุญ” เลย (2 คร 11-12; รม 15: 26-31 ; อฟ3: 5-8; 4:12) และพระศาสนจักรเองก็ถูกเรียกว่า “ สหพันธ์นักบุญ” สำนวนนี้เรายังจะพบได้อีกในบท “ ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระผู้เป็นเจ้า” ซั่งมีต้นกำเนิดจากกลุ่มคริสตชนที่มาร่วมถวายบูชามิสซา
และมีส่วนร่วมใน “ สิ่งศักดิ์สิทธิ์” จึงกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือ “ นักบุญ” ดังนั้น ความศักดิ์สิทธิ์หรือความเป็นนักบุญของคริสตชน
จึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมในชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าโดยอาศัยวิธีการต่างๆ ของพระศาสนจักรเป็นต้นโดยทางศีลศํกดิ์สิทธิ์

ความศักดิ์สิทธิ์นี้มิใช่เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่พยายามจะบรรลุถึงพระเจ้า โดยอาศัยกำลังของตนเอง
แม้จะประกอบกิจกรรมขั้นวีรกรรมก็ตาม แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นของประทานของพระเจ้าที่ให้เปล่า นอกนั้นยังเป็นการตอบสนอง
ของมนุษย์ต่อการเริ่มต้นอันนี้ของพระเจ้าอีกด้วย



วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันระลึกถึงบรรดาผู้ล่วงลับ 
( หรือที่เรียกว่า วันระลึกถึงวิญญาณในไฟชำระ)


พระศาสนจักรถือว่า บรรดาผู้ล่วงลับกับผู้มีชีวิตนี้ มีความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยอาศัยคำภาวนา และการร่วมบูชามิสซา ผู้ล่วงลับมิใช่ผู้ที่จากไป อยู่อีกทีหนึ่ง หรืออีกโลกหนึ่ง โลกที่ไม่สามารถติดต่อสัมพันธ์กันได้ แต่ ผู้ล่วงลับ คือ ผู้ที่ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระ และสักวันหนึ่งภายหน้าก็จะกลับคืนชีพพร้อมกับพระเยซูคริสตเจ้า


ทำไมต้องระลึกถึงบรรดาผู้ล่วงลับ
การที่พระศาสนจักรกำหนดให้เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนระลึกถึงผู้ล่วงลับนั้น เพราะเรามีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีร่างกาย จิตใจและวิญญาณ เมื่อถึงวันที่ร่างกายจบสิ้น(ตาย) แต่วิญญาณนั้นคงอยู่ วิญญาณจะรับผลของร่างกายที่เป็นผู้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นผลของความดี หรือความชั่ว แน่นอนมนุษย์ทุกคนมีทั้งความดี และความผิดบกพร่องด้วยกันทุกคน โดยความเชื่อของเราซึ่งเป็นคาทอลิก เราเชื่อว่าผู้ที่ตายไปแล้วจะได้ไปพบกับพระเป็น เจ้า แต่บุคคลที่จะพบกับพระเป็นเจ้าได้นั้น ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งขณะเดียวกันเราก็เชื่อว่าในความเป็นมนุษย์ที่มีความอ่อนแอ คงไม่มีใครสามารถชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ได้ทั้งหมด ดังนั้น ผู้ที่ล่วงลับไปในขณะที่ยังมีมลทินของบาป บาปเบา เศษของบาป หรือยังไม่บริสุทธิ์พอที่จะได้ไปพบพระเป็นเจ้า พวกเขาเหล่านั้น ยังต้องใช้โทษของตน อยู่ในที่แห่งหนึ่ง ที่เรียกว่าไฟชำระ และในไฟชำระนี้ เขาจะได้รับการทดลองอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะช้านานแล้ว แต่สภาพของวิญญาณของเขา เมื่อผ่านพ้นช่วงนั้นไปแล้ว พวกเขาจะได้เข้าสู่สวรรค์ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนที่มีชีวิตทุกคนที่จะสวดภาวนาให้กับผู้ล่วงลับที่อยู่ในไฟชำระ เพื่อวอนขอพระเป็นเจ้าทรงมีพระเมตตา อภัยโทษ ความผิดบาปต่าง ๆ ให้กับเขา เพื่อเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร ร่วมสุขกับพระองค์ในสวรรค์ เพราะผู้ล่วงลับเหล่านั้น ไม่อยู่ ในสภาพที่จะช่วยเหลือตัวเองให้พ้นจากความผิดบาปที่กระทำได้ มีเพียงพวกเราเท่านั้นที่จะสามารถช่วยพวกเขา ได้ และหน้าที่ของการภาวนาและขอมิสซาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับนั้น ยังเป็นเรื่องของความยุติธรรม และความกตัญญูกตเวทีของเราทุก ๆ คนอีกด้วย เพราะผู้ล่วงลับเหล่านั้น อาจเป็นบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ นักบวชชาย หญิง พระสงฆ์ พระสังฆราช หรือมิตรสหายของเรา ฯลฯ ซึ่งมีส่วนผูกผัน และเคยเกี่ยวข้องกับเรามาไม่มากก็น้อยในอดีตที่ผ่านมา ท่านเคยอยู่ในโลก …… จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในกรณีเช่นนี้……..

สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ล่วงลับ
การสวดภาวนาและขอมิสซาให้กับผู้ล่วงลับนั้น ถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่มีชีวิตอยู่ เพื่อวอนขอพระเจ้า
ได้เมตตากับบรรดาผู้ล่วงลับทั้งหลาย ให้พวกเขาได้พ้นจากบาปต่าง ๆ ที่กระทำ และได้เข้าไปอยู่กับพระเป็นเจ้า โดยเร็ววัน
ซึ่งการขอมิสซาให้ผู้ล่วงลับ ถือเป็นคำภาวนาที่ดีที่สุด เป็นการระลึกถึงสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำให้ อดีต ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์
การกลับคืนชีพ ฯลฯ และในบูชามิสซานี่เอง ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักที่ พระเป็นเจ้าทรงมีต่อชีวิตมนุษย์
ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ถวายความรัก การต่อสู้ทุก ๆ อย่างของมนุษย์เป็นเกียรติ แด่พระเป็นเจ้าด้วย ดังนั้นรางวัลสำหรับมนุษย์
ที่ได้ต่อสู้และแบกกางเขนร่วมกับพระองค์ในโลกนี้ ก็คือ รางวัลของ ชีวิตนิรันดรในโลกหน้า
ชีวิตที่ได้อยู่ร่วมกับพระเป็นเจ้าองค์แห่งความรัก นอกจากนั้น การขอมิสซาของเราเพื่อผู้ ล่วงลับ ยังถือเป็นการสละแรงกาย
ทรัพย์สินเงินทอง เพื่อเป็นบูชาถวายแด่พระเป็นเจ้า โดยอาศัยคำภาวนาของ พระสงฆ์ ผ่านทางบูชามิสซาที่ถวายร่วมกัน
จะเห็นได้จากในพิธีบูชามิสซาจะมีการสวดภาวนาให้กับผู้มีชีวิต และผู้ ล่วงลับไปแล้ว เพราะเราเชื่อว่าผู้ล่วงลับหรือผู้ที่มีชีวิตอยู่นั้น
ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นบูชามิสซาจึงเป็นเครื่อง หมายของความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งผู้มีชีวิตและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

ภาวนาและขอมิสซาให้ผู้ล่วงลับ เขาจะได้รับหรือไม่ ???การขอมิสซา การอุทิศส่วนกุศล
ส่วนบุญของเราด้วยทรัพย์สินเงินทอง แรงกาย ถวายแด่พระเป็นเจ้า เป็น การทำบุญให้กับผู้ล่วงลับ เพื่อเขาจะได้ไปมีชีวิตนิรันดร
์เร็วขึ้นนั้น เราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้ล่วงรับเหล่านั้นได้รับ หรือไม่ ??? และบางคนที่ลงนรกไปแล้ว เราสวดภาวนาให้ก็ไร้ประโยชน์
อย่างไรเขาก็ไม่สามารถเอาตัวรอดไปสว รรค์ได้ แต่ใครล่ะจะกล้าตัดสินว่า บุคคลนี้ต้องไปนรกแน่ ๆ เพราะแม้แต่คนที่เลวร้ายที่สุด
หากวินาทีสุดท้ายเขาได้ กลับใจ และได้รับพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าล่ะ ดังนั้นสิทธิของการตัดสินนี้จึงยกให้เป็นหน้าที่
ของพระเป็นเจ้า พระองค์จะทรงเป็นผู้ตัดสินในทุกเรื่อง ๆ รวมท้ังเป็นผู้ให้ส่วนกุศลต่าง ๆ ที่เราได้กระทำให้นั้นแก่วิญญาณของผู้
ที่เราปรารถนาสวดภาวนาให้ หรือวิญญาณที่ควรสวดภาวนาให้ หรือให้กับวิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึงเลยเราจงมั่น ใจว่าเถิดว่า “
กิจการดี กิจการกุศล และการภาวนาอุทิศให้กับผู้ล่วงลับนี้ พระเจ้าพระองค์จะทรงให้เกิดผลเสมอ พระองค์ไม่ปล่อยให้คำภาวนา
ไร้ค่าแน่นอน ” ดังนั้นจึงไม่กังวลว่าคำภาวนาและมิสซาที่เราขอไปในผู้ล่วงลับจะได้ รับหรือไม่

ชีวิตหลังความตาย
ชีวิตหลังความตายเป็นโลกที่หลายๆคนอยากทราบว่าเป็นเช่นไร แต่ไม่มีใครให้คำตอบได้แน่ชัดนักเพราะ เราทุกคนต่างอยู่ใน
สภาพของผู้มีชีวิต ไม่มีใครเคยพบว่าชีวิตหลังความตายเป็นเช่นไร เราทราบแต่เพียงว่า มนุษย์ ทุกคนเกิดมาย่อมมีเป้าหมายในชีวิต
และเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนหวังไว้ก็คือ หลังจากที่ได้ทำความดี ต่อสู้ กับอุปสรรคต่าง ๆ มากมายในโลกนี้
แบกกางเขนติดตามพระเยซูเจ้าแล้ว วันหนึ่งเมื่อต้องจบชีวิตในโลก ก็ขอให้ ได้มีชีวิตใหม่อยู่กับพระเป็นเจ้า ในสวรรค์ ซึ่งสรรค์นั้น
เป็นแบบใด และอยู่ที่ไหนก็มิอาจรู้ได้ สวรรค์อาจมิใช่สถาน ที่ที่สวยความ อย่างที่เราคิดฝัน แต่ สวรรค์ คือ สภาวะของความสุข
ความบริบูรณ์ที่เราบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ เป้าหมายในชีวิตที่จะได้ไปอยู่กับพระเป็นเจ้า และเป้าหมายที่เราได้รับนั้น
ก็คือชีวิตหลังความตายที่จะได้พบเจอ นั้นเอง

การจัดพิธีต่าง ๆ ให้ผู้ล่วงลับบอกอะไรกับเรา
เมื่อมีคนหนึ่งคนใดล่วงลับ มนุษย์จะให้เกียรติกับผู้ล่วงลับ โดยการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่จากโลกนี้ไปกำลังเดินทางไปพบกับความสุขในโลกหน้า ซึ่งคาทอลิกเรามีเชื่อว่าโดยอาศัยศีลล้างบาป เราจะสามารถ
ผ่านไปสู่ชีวิตพร้อมกับพระองค์โดยผ่านทางความตายของวิญญาณ ผู้ล่วงลับทุกคนที่ อยู่ในศีลในพรของพระ ได้ตายกับพระคริสตเจ้า
จะได้กลับมามีชีวิตใหม่พร้อมกับพระองค์ เหมือนกับที่พระคริสต เจ้าได้สิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนชีพใหม่ ดังนั้นพิธีกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศพ การสวดภาวนาให้มิสซาปลง ศพ และการฝั่งศพ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาลักษณ์และเครื่องหมาย
แสดงให้เห็นว่าผู้ล่วงลับนั้น วันหนึ่งจะได้ กลับฟื้นคืนชีพใหม่ ซึ่งเป็นความหวังของชีวิตคริสตชน

ทำไมต้องจุดเทียน ??
เทียนเปรียบเสมือนแสงสว่างของพระคริสตเจ้า การจุดเทียนให้กับผู้ล่วงลับในวันเสกสุสาน เป็นการเตือนใจเราให้เปิดใจ
มองเห็นแสงสว่างของพระเป็นเจ้า รวมทั้งขอให้บรรดาผู้ล่วงลับทั้งได้เห็นแสงสว่างของพระเป็นเจ้า ด้วย นอกจากนั้น เทียนยังมีความหมายถึงการให้เกียรติแด่บรรดาผู้ล่วงลับอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าเดือนนี้เป็นเดือนพิเศษที่พระศาสนจักรของเราเปิดโอกาสให้
เป็นเดือนระลึกถึง บรรดาผู้ล่วงลับและวิญญาณ ที่ไม่มีใครนึกถึง

เป็นโอกาสดีที่พวกเราทุกคนจะร่วมกันสวดภาวนาและขอมิสซาให้กับบรรดาผู้ล่วงลับ ทั้งหลาย ญาติพี่น้อง และผู้ที่ไม่มีใครคิดถึง
เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่อยู่ในสถานะ ที่จะช่วยเหลือตัวเองให้พ้น จากความผิดบาปได้ มีเพียงพวกเราเท่านั้ น ที่สามารถช่วยเหลือ
พวกเขาได้ ดังนั้นพวกเราทุกคนควรจะระลึกถึง บรรดาผู้ล่วงลับ หรือญาติพี่น้องที่จาก มิใช่เฉพาะแต่เดือนผู้ตายเท่านั้น แต่ควร
ระลึกทุก ๆ วัน เพื่อพวกเขาจะได้ ไปอยู่กับพระเป็นเจ้าโดยเร็ววันและเมื่อพวกเขาได้รับชีวิตนิรันดรในสวรรค ์แล้วพวกเขาก็จะไม่ลืม
ที่จะสวดภาวนา ให้พวก เราเช่นกัน……..

Bonne fête de la toussaint.

Bonne fête de la toussaint.

La Toussaint est une fête catholique, célébrée le 1er novembre, au cours de laquelle l’Église catholique honore tous les saints, connus et inconnus. La Toussaint précède d’un jour la Commémoration des fidèles défunts, dont la solennité a été officiellement fixée au 2 novembre, deux siècles après la création de la Toussaint.
Les orthodoxes, anglicans et certaines églises luthériennes célèbrent également cette fête, mais sans y associer toujours le même contenu.


Halloween

On the night of October 31, many Americans celebrate the traditions of Halloween by dressing in costumes and telling tales of witches and ghosts. Children go from house to house—to “trick or treat”—collecting candy along the way. Communities also hold parades and parties.
คืนวันที่ 31 ตุลาคม เป็นคืนที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เฉลิมฉลองวันฮัลโลวีนด้วยการแต่งแฟนซีเป็นภูติผีหน้าตาแปลกๆ และผลัดกันเล่าเรื่องผีหรือแม่มดที่น่ากลัวต่างๆ เป็นวันที่เด็กๆ สนุกสนานกับการ-เดินไปเคาะประตูบ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อเล่น “ทริค ออร์ ทรีท” สะสมขนมขบเคี้ยวจากเจ้าของบ้าน บางชุมชนมีการจัดปาร์ตี้ หรือเดินพาเหรดกันด้วย
Halloween had its beginnings in an ancient, pre-Christian Celtic festival of the dead. The Celtic peoples, who were once found all over Europe, divided the year by four major holidays. According to their calendar, the year began on a day corresponding to November 1st on our present calendar. The date marked the beginning of winter. Since they were pastoral people, it was a time when cattle and sheep had to be moved to closer pastures and all livestock had to be secured for the winter months. Crops were harvested and stored. October 31, with the harvest gathered and the fields bare, marked the end of the old year and the beginning of the new.
เทศกาลฮัลโลวีนถือกำเนิดมาจากเทศกาลฉลองผีของชาวเคลท์ (Celt) สมัยที่ยังไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์ ชาวเคลท์ซึ่งตั้งชุมชนอยู่ทั่วทวีปยุโรปจะแบ่งปีเป็นสี่ช่วง แต่ละช่วงจะเริ่มด้วยวันหยุดใหญ่ ตามปฏิทินของชาวเคลท์ วันปีใหม่ของพวกเขาตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายนในปัจจุบัน และเป็นวันเริ่มต้นฤดูหนาวของพวกเขาด้วย เนื่องจากชาวเคลท์เป็นเกษตรกร ตั้งบ้านเรือนอยู่ในทุ่งหญ้า เมื่อฤดูหนาวมาเยือนพวกเขาจึงต้องเตรียมย้ายปศุสัตว์คือวัวและแกะให้มาหากินในทุ่งใกล้บ้าน เตรียมที่อยู่และอาหารให้พอกินตลอดฤดูหนาว และต้องเก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหารที่ปลูกไว้มาเก็บตุนไว้ วันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่พืชผลถูกเก็บเกี่ยวหมดเหลือเพียงทุ่งว่างเปล่า จึงเป็นวันสิ้นปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง
The festival observed at this time was called Samhain (pronounced Sah-ween). It was the biggest and most significant holiday of the Celtic year. The Celts believed that at the time of Samhain, more so than any other time of the year, the ghosts of the dead were able to mingle with the living, because at Samhain the souls of those who had died during the year traveled into the otherworld. People gathered to sacrifice animals, fruits, and vegetables. They also lit bonfires in honor of the dead, to aid them on their journey, and to keep them away from the living.
ชาวเคลท์เรียกงานฉลองเทศกาลลาทีปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ของพวกเขาว่า ซาวีน (สะกดตามแบบชาวเคลท์ว่า Samhain) ถือเป็นวันหยุดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดแห่งปี พวกเคลท์เชื่อว่า ในช่วงซาวีนนี้ วิญญาณของผู้ที่ตายไปแล้วจะออกมาอยู่ร่วมกับคนเป็นมากกว่าเวลาอื่นๆ เพราะในช่วงซาวีน วิญญาณของคนที่ตายในช่วงปีที่ผ่านมาจะเดินทางไปสู่อีกโลกหนึ่ง ผู้คนจึงมารวมกันเพื่อถวายสัตว์ ผลไม้ และผักต่างๆ และจุดไฟกองใหญ่ๆ เพื่อให้เกียรติกับคนตาย และเพื่อส่องทางให้ผู้ตายไปปรโลกได้สะดวก จะได้ไม่หลงมาอยู่ใกล้ๆ คนเป็นให้หัวใจวายตายตามไปด้วยเปล่าๆ
When Christianity began to spread among the Celtic people, church holy days were purposely set to coincide with native holy days. The Christian feast of All Saints was assigned to November 1st. The day honored every Christian saint, especially those that did not otherwise have a special day devoted to them. All Saints Day, otherwise known as All Hallows (hallowed means sanctified or holy), continued the ancient Celtic traditions. The evening prior to the day was the time of the most intense activity, both human and supernatural. People continued to celebrate All Hallows Eve as a time of the wandering dead. The folk continued to appease those spirits (and their masked impersonators) by setting out gifts of food and drink. Subsequently, All Hallows Eve became Hallow Evening, which became Hallowe'en--an ancient Celtic, pre-Christian New Year's Day.
เมื่อชาวเคลท์เริ่มหันมานับถือศาสนาคริสต์ วันสำคัญทางศาสนาถูกจัดให้เป็นวันเดียวกันกับวันสำคัญในประเพณีดั้งเดิมเพื่อให้ง่ายกับการปรับตัวเข้ากับศาสนาใหม่ วันที่ 1 พฤศจิกายน กลายเป็นวันสมโภชนักบุญทั้งหลาย คือนักบุญของศาสนาคริสต์ทุกองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักบุญที่ไม่มีวันฉลองเฉพาะของตนเอง วันสมโภชนักบุญทั้งหลายนี้เรียกอีกอย่างว่า ออล ฮอลโลว์ (คำว่า ฮอลโลว์ แปลว่าศักดิ์สิทธิ์) และยังคงสืบทอดประเพณีดั้งเดิมของชาวเคลท์ต่อไป โดยเย็นวันก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน หรือที่เรียกว่า ออล ฮอลโลว์ อีฟ ถือเป็นวันที่ทั้งคนและผีมีกิจกรรมมากที่สุด โดยฝ่ายผีก็ออกมาเดินเพ่นพ่าน ส่วนฝ่ายคน (ที่กลัวผี) ก็เอาใจผี (และคนที่ใส่หน้ากากผี) ด้วยการ-หาอาหารและเครื่องดื่มมาวางไว้ให้เป็นของขวัญ ต่อมา ชื่อ ออล ฮอลโลว์ อีฟ ก็ถูกตัดให้สั้นลงเหลือแค่ ฮอลโลว์ อีฟนิ่ง และเพี้ยนเป็น ฮัลโลวีน ในที่สุด ซึ่งก็คือวันฉลองเทศกาลปีใหม่ของชาวเคลท์โบราณสมัยที่ยังไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์นั่นเอง
Virtually all present Halloween traditions can be traced to the ancient Celtic day of the dead. The wearing of costumes, for instance, and roaming from door to door demanding treats can be traced to the Celtic period and the first few centuries of the Christian era. As the centuries wore on, people began dressing like dreadful creatures, performing antics in exchange for food and drink. This practice is called mumming, from which the practice of trick-or-treating evolved. The customs of carving vegetables also harken back to the original harvest holiday of Samhain.
กิจกรรมต่างๆ ที่นิยมทำกันในวันฮัลโลวีนเกือบทั้งหมดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยโบราณ เช่นการแต่งแฟนซีและการเดินไปแวะเวียนตามบ้านต่างๆ เพื่อขอขนม ก็เป็นประเพณีของชาวเคลท์ในสมัยศตวรรษแรกๆ ที่เริ่มหันมานับถือศาสนาคริสต์ เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนก็เริ่มแต่งตัวเลียนแบบภูติผีปีศาจ และเล่นแผลงๆ เพื่อแลกกับอาหารและน้ำ กิจกรรมนี้เรียกว่า มัมมิ่ง ซึ่งต่อมากลายเป็นกิจกรรม ทริค ออร์ ทรีท ของเด็กๆ หรือประเพณีการแกะสลักผักผลไม้ เช่น ฟักทอง ก็สะท้อนถึงการฉลองการเก็บเกี่ยวพืชผลในเทศกาลซาวีนนั่นเอง
Today Halloween is becoming once again an adult holiday or masquerade, like Mardi Gras. Men and women in every disguise imaginable are taking to the streets of big American cities and parading past grinningly carved, candlelit jack o'lanterns. In so doing, they are reaffirming death as a part of life in an exhilarating celebration of a holy and magic evening.
ปัจจุบันนี้เทศกาลฮัลโลวีนกลายเป็นงานรื่นเริงของผู้ใหญ่อีกครั้งหนึ่ง มีการใส่หน้ากากเดินพาเหรดเฉลิมฉลองแบบเดียวกับเทศกาลมาดิกราส์ ทั้งชายและหญิงในชุดแฟนซีแปลกๆ สุดแต่ใจจะจินตนาการ ต่างออกมาเดินพาเหรดตามถนนในเมืองใหญ่ ผ่านหน้ายิ้มแย้มของตะเกียงฟักทอง แจ๊ค โอแลนเทิร์น เพื่อเตือนตัวเองว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ด้วยการเฉลิมฉลองอันคึกคักในยามเย็นแห่งความศักดิ์สิทธิ์และมนต์มายา