วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันฉลองนักบุญทั้งหลาย วันผู้ล่วงลับ

สมโภชนักบุญทั้งหลาย

ตั้งแต่แรกพระคัมภีร์ได้สงวนนามนี้ “ นักบุญ” หรือ “ ผู้ศักดิ์สิทธิ์” ไว้สำหรับพระยาเวห์แต่เพียงผู้เดียว เพราะว่าพระเจ้า คือ 
“ อีกผู้หนึ่ง” หรือ “ ผู้อื่น” ซึ่งอยู่นอกเหนือสิ่งทั้งหลาย พระองค์ทรงอยู่ห่างไกลจากเราเหลือเกินจนเราไม่อาจคิดได้ว่า
เราจะสามารถมีส่วนร่วมในชีวิตของพระองค์ได้อย่างไร เมื่อมาอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระ เจ้า ผู้เป็นองค์ความศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง
(ปฐก 28:10-19; 1 ซมอ 6:13-21; 2 ซมอ 6:1-10) มนุษย์ไม่สามารถจะทำอะไรอย่างอื่นได้นอกจากกราบไหว้นมัสการ
และยำเกรงพระองค์ ( อพย 3:1-6; ปฐก 15:12)

ในศาสนานี้สามารถช่วยให้รอดได้เช่นของพวกอิสราแอล พระเจ้าเองต้องเป็นผู้ประทานความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์
ให้แก่ประชากรของพระองค์ ( อสย 12:6-29; 19-23;30: 11-15;31:1-3) ซึ่งตัวเขาเองได้กลายเป็น “ อีกผู้หนึ่ง” เหมือนกัน โดยเขาจะประพฤติตนแตกต่างไปจากชนชาติอื่น ๆ จากการเจริญชีวิตประจำวันของพวก เขา และเป็นต้นจากการแสดงออก
ของพวกเขาโดยทางจารีตพิธีกรรมต่างๆ (ลนต19:1-37;21: 1-23 ; วว 4:1-11) แต่ว่าเพื่อจะสามารถบันดาลให้ความศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้บรรลุผลสำเร็จ ตามที่พระเจ้าได้ทรงเรียกพวกเขามายังความศักดิ์สิทธิ์นี้นั้น ประชากรผู้ได้รับเลือกสรรไม่มีวิธีการอะไรอย่างอื่นนอกจากการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ และการปฏิบัติการชำระล้าง
ให้สะอาดหมดจด (ปราศจากมลทิน)ทางด้านภายนอกเท่านั้น ไม่ช้าไม่นาน พวกเขาได้มีจิตสำนึกถึงความไม่เพียงพอของวิธีการต่างๆ
เหล่านี้ พวกเขาจึงได้เจาะจงแสวงหาวิธีการใหม่ที่จะสามารถช่วยพวก เขาให้ได้มีส่วนในชีวิตของพระเจ้า วิธีการใหม่นี้ก็คือ
“ หัวใจที่สะอาดบริสุทธิ์” ( อสย 6:1-7; สดด 14; อสค 36: 17-32; 1 ปต 1:14-16) พวกเขาได้ตั้งความหวังไว้ว่า
ความศักดิ์สิทธิ์ที่พวกเขาจะได้รับนั้นต้องมาจากพระเจ้าโดยตรง (อสค 36: 23-28)


ความหวังหรือความปรารถนาอันนี้ได้สำเร็จหรือได้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมาในองค์พระคริสตเจ้าในตัวพระองค์ เอง
ความศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงฉายแสงออกมาให้ปรากฎในตัวพระองค์ และ “ พระจิตแห่งความศักดิ์สิทธิ์”
ทรงสถิตอยู่ในพระองค์ พระองค์ได้ทรงรับตำแหน่ง “ องค์ความศักดิ์สิทธิ์” ( ยน 3:1-5; 1 คร 3:16-17; กท 5:16-25; รม 8: 9-14)
และอันที่จริงพระองค์เสด็จมาในโลกนี้ก็เพื่อจะช่วยมนุษยชาติได้กลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์
คำภาวนาทูลขอและข้อปฏิบัติ

1. ขอให้ผู้ที่ร้องไห้ได้รับการปลอบโยน ขอให้ผู้ที่หิวกระหายความยุติธรรมได้อิ่มหน่ำและขอให้ผู้มีเมตตาได้รับความเมตตาเช่นกัน
2. ขอให้บูชามิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์ได้ช่วยแปรสภาพพวกเราให้กลายเป็น “ ผู้ศักดิ์สิทธิ์” กลายเป็น “ นักบุญ” ด้วยเถิด

พระเยซูเจ้า พระองค์ได้ทรงกลายเป็น “ พระคริสตเจ้า” หรือ “ เจ้านายผู้ศักดิ์สิทธิ์” และได้ทรงถ่ายทอดความศักดิ์สิทธิ์
ของพระองค์นี้ให้แก่มนุษย์ (มธ 13: 24-30; 25: 2; คส 1:22; 2 คร 1:12)

ในศตวรรษแรก ๆ คำสอนเรื่องนี้มีชีวิตชีวามากจนว่าสมาชิกของพระศาสนจักรในเวลานั้นไม่ได้ลังเลใจที่จะเรียกตัวเองว่า
“ นักบุญ” เลย (2 คร 11-12; รม 15: 26-31 ; อฟ3: 5-8; 4:12) และพระศาสนจักรเองก็ถูกเรียกว่า “ สหพันธ์นักบุญ” สำนวนนี้เรายังจะพบได้อีกในบท “ ข้าพเจ้าเชื่อถึงพระผู้เป็นเจ้า” ซั่งมีต้นกำเนิดจากกลุ่มคริสตชนที่มาร่วมถวายบูชามิสซา
และมีส่วนร่วมใน “ สิ่งศักดิ์สิทธิ์” จึงกลายเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์หรือ “ นักบุญ” ดังนั้น ความศักดิ์สิทธิ์หรือความเป็นนักบุญของคริสตชน
จึงอยู่ที่การมีส่วนร่วมในชีวิตของพระผู้เป็นเจ้าโดยอาศัยวิธีการต่างๆ ของพระศาสนจักรเป็นต้นโดยทางศีลศํกดิ์สิทธิ์

ความศักดิ์สิทธิ์นี้มิใช่เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่พยายามจะบรรลุถึงพระเจ้า โดยอาศัยกำลังของตนเอง
แม้จะประกอบกิจกรรมขั้นวีรกรรมก็ตาม แต่ว่าความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นของประทานของพระเจ้าที่ให้เปล่า นอกนั้นยังเป็นการตอบสนอง
ของมนุษย์ต่อการเริ่มต้นอันนี้ของพระเจ้าอีกด้วย



วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันระลึกถึงบรรดาผู้ล่วงลับ 
( หรือที่เรียกว่า วันระลึกถึงวิญญาณในไฟชำระ)


พระศาสนจักรถือว่า บรรดาผู้ล่วงลับกับผู้มีชีวิตนี้ มีความผูกพันเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยอาศัยคำภาวนา และการร่วมบูชามิสซา ผู้ล่วงลับมิใช่ผู้ที่จากไป อยู่อีกทีหนึ่ง หรืออีกโลกหนึ่ง โลกที่ไม่สามารถติดต่อสัมพันธ์กันได้ แต่ ผู้ล่วงลับ คือ ผู้ที่ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ของพระ และสักวันหนึ่งภายหน้าก็จะกลับคืนชีพพร้อมกับพระเยซูคริสตเจ้า


ทำไมต้องระลึกถึงบรรดาผู้ล่วงลับ
การที่พระศาสนจักรกำหนดให้เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนระลึกถึงผู้ล่วงลับนั้น เพราะเรามีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีร่างกาย จิตใจและวิญญาณ เมื่อถึงวันที่ร่างกายจบสิ้น(ตาย) แต่วิญญาณนั้นคงอยู่ วิญญาณจะรับผลของร่างกายที่เป็นผู้กระทำ ไม่ว่าจะเป็นผลของความดี หรือความชั่ว แน่นอนมนุษย์ทุกคนมีทั้งความดี และความผิดบกพร่องด้วยกันทุกคน โดยความเชื่อของเราซึ่งเป็นคาทอลิก เราเชื่อว่าผู้ที่ตายไปแล้วจะได้ไปพบกับพระเป็น เจ้า แต่บุคคลที่จะพบกับพระเป็นเจ้าได้นั้น ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งขณะเดียวกันเราก็เชื่อว่าในความเป็นมนุษย์ที่มีความอ่อนแอ คงไม่มีใครสามารถชำระตัวเองให้บริสุทธิ์ได้ทั้งหมด ดังนั้น ผู้ที่ล่วงลับไปในขณะที่ยังมีมลทินของบาป บาปเบา เศษของบาป หรือยังไม่บริสุทธิ์พอที่จะได้ไปพบพระเป็นเจ้า พวกเขาเหล่านั้น ยังต้องใช้โทษของตน อยู่ในที่แห่งหนึ่ง ที่เรียกว่าไฟชำระ และในไฟชำระนี้ เขาจะได้รับการทดลองอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะช้านานแล้ว แต่สภาพของวิญญาณของเขา เมื่อผ่านพ้นช่วงนั้นไปแล้ว พวกเขาจะได้เข้าสู่สวรรค์ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของคนที่มีชีวิตทุกคนที่จะสวดภาวนาให้กับผู้ล่วงลับที่อยู่ในไฟชำระ เพื่อวอนขอพระเป็นเจ้าทรงมีพระเมตตา อภัยโทษ ความผิดบาปต่าง ๆ ให้กับเขา เพื่อเขาจะได้รับชีวิตนิรันดร ร่วมสุขกับพระองค์ในสวรรค์ เพราะผู้ล่วงลับเหล่านั้น ไม่อยู่ ในสภาพที่จะช่วยเหลือตัวเองให้พ้นจากความผิดบาปที่กระทำได้ มีเพียงพวกเราเท่านั้นที่จะสามารถช่วยพวกเขา ได้ และหน้าที่ของการภาวนาและขอมิสซาอุทิศแด่ผู้ล่วงลับนั้น ยังเป็นเรื่องของความยุติธรรม และความกตัญญูกตเวทีของเราทุก ๆ คนอีกด้วย เพราะผู้ล่วงลับเหล่านั้น อาจเป็นบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ นักบวชชาย หญิง พระสงฆ์ พระสังฆราช หรือมิตรสหายของเรา ฯลฯ ซึ่งมีส่วนผูกผัน และเคยเกี่ยวข้องกับเรามาไม่มากก็น้อยในอดีตที่ผ่านมา ท่านเคยอยู่ในโลก …… จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในกรณีเช่นนี้……..

สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับผู้ล่วงลับ
การสวดภาวนาและขอมิสซาให้กับผู้ล่วงลับนั้น ถือเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่มีชีวิตอยู่ เพื่อวอนขอพระเจ้า
ได้เมตตากับบรรดาผู้ล่วงลับทั้งหลาย ให้พวกเขาได้พ้นจากบาปต่าง ๆ ที่กระทำ และได้เข้าไปอยู่กับพระเป็นเจ้า โดยเร็ววัน
ซึ่งการขอมิสซาให้ผู้ล่วงลับ ถือเป็นคำภาวนาที่ดีที่สุด เป็นการระลึกถึงสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำให้ อดีต ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์
การกลับคืนชีพ ฯลฯ และในบูชามิสซานี่เอง ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักที่ พระเป็นเจ้าทรงมีต่อชีวิตมนุษย์
ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ถวายความรัก การต่อสู้ทุก ๆ อย่างของมนุษย์เป็นเกียรติ แด่พระเป็นเจ้าด้วย ดังนั้นรางวัลสำหรับมนุษย์
ที่ได้ต่อสู้และแบกกางเขนร่วมกับพระองค์ในโลกนี้ ก็คือ รางวัลของ ชีวิตนิรันดรในโลกหน้า
ชีวิตที่ได้อยู่ร่วมกับพระเป็นเจ้าองค์แห่งความรัก นอกจากนั้น การขอมิสซาของเราเพื่อผู้ ล่วงลับ ยังถือเป็นการสละแรงกาย
ทรัพย์สินเงินทอง เพื่อเป็นบูชาถวายแด่พระเป็นเจ้า โดยอาศัยคำภาวนาของ พระสงฆ์ ผ่านทางบูชามิสซาที่ถวายร่วมกัน
จะเห็นได้จากในพิธีบูชามิสซาจะมีการสวดภาวนาให้กับผู้มีชีวิต และผู้ ล่วงลับไปแล้ว เพราะเราเชื่อว่าผู้ล่วงลับหรือผู้ที่มีชีวิตอยู่นั้น
ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนั้นบูชามิสซาจึงเป็นเครื่อง หมายของความเป็นหนึ่งเดียวกัน ทั้งผู้มีชีวิตและผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว

ภาวนาและขอมิสซาให้ผู้ล่วงลับ เขาจะได้รับหรือไม่ ???การขอมิสซา การอุทิศส่วนกุศล
ส่วนบุญของเราด้วยทรัพย์สินเงินทอง แรงกาย ถวายแด่พระเป็นเจ้า เป็น การทำบุญให้กับผู้ล่วงลับ เพื่อเขาจะได้ไปมีชีวิตนิรันดร
์เร็วขึ้นนั้น เราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้ล่วงรับเหล่านั้นได้รับ หรือไม่ ??? และบางคนที่ลงนรกไปแล้ว เราสวดภาวนาให้ก็ไร้ประโยชน์
อย่างไรเขาก็ไม่สามารถเอาตัวรอดไปสว รรค์ได้ แต่ใครล่ะจะกล้าตัดสินว่า บุคคลนี้ต้องไปนรกแน่ ๆ เพราะแม้แต่คนที่เลวร้ายที่สุด
หากวินาทีสุดท้ายเขาได้ กลับใจ และได้รับพระหรรษทานของพระเป็นเจ้าล่ะ ดังนั้นสิทธิของการตัดสินนี้จึงยกให้เป็นหน้าที่
ของพระเป็นเจ้า พระองค์จะทรงเป็นผู้ตัดสินในทุกเรื่อง ๆ รวมท้ังเป็นผู้ให้ส่วนกุศลต่าง ๆ ที่เราได้กระทำให้นั้นแก่วิญญาณของผู้
ที่เราปรารถนาสวดภาวนาให้ หรือวิญญาณที่ควรสวดภาวนาให้ หรือให้กับวิญญาณที่ไม่มีใครคิดถึงเลยเราจงมั่น ใจว่าเถิดว่า “
กิจการดี กิจการกุศล และการภาวนาอุทิศให้กับผู้ล่วงลับนี้ พระเจ้าพระองค์จะทรงให้เกิดผลเสมอ พระองค์ไม่ปล่อยให้คำภาวนา
ไร้ค่าแน่นอน ” ดังนั้นจึงไม่กังวลว่าคำภาวนาและมิสซาที่เราขอไปในผู้ล่วงลับจะได้ รับหรือไม่

ชีวิตหลังความตาย
ชีวิตหลังความตายเป็นโลกที่หลายๆคนอยากทราบว่าเป็นเช่นไร แต่ไม่มีใครให้คำตอบได้แน่ชัดนักเพราะ เราทุกคนต่างอยู่ใน
สภาพของผู้มีชีวิต ไม่มีใครเคยพบว่าชีวิตหลังความตายเป็นเช่นไร เราทราบแต่เพียงว่า มนุษย์ ทุกคนเกิดมาย่อมมีเป้าหมายในชีวิต
และเป้าหมายสุดท้ายที่มนุษย์ทุกคนหวังไว้ก็คือ หลังจากที่ได้ทำความดี ต่อสู้ กับอุปสรรคต่าง ๆ มากมายในโลกนี้
แบกกางเขนติดตามพระเยซูเจ้าแล้ว วันหนึ่งเมื่อต้องจบชีวิตในโลก ก็ขอให้ ได้มีชีวิตใหม่อยู่กับพระเป็นเจ้า ในสวรรค์ ซึ่งสรรค์นั้น
เป็นแบบใด และอยู่ที่ไหนก็มิอาจรู้ได้ สวรรค์อาจมิใช่สถาน ที่ที่สวยความ อย่างที่เราคิดฝัน แต่ สวรรค์ คือ สภาวะของความสุข
ความบริบูรณ์ที่เราบรรลุถึงเป้าหมายที่ต้องการ เป้าหมายในชีวิตที่จะได้ไปอยู่กับพระเป็นเจ้า และเป้าหมายที่เราได้รับนั้น
ก็คือชีวิตหลังความตายที่จะได้พบเจอ นั้นเอง

การจัดพิธีต่าง ๆ ให้ผู้ล่วงลับบอกอะไรกับเรา
เมื่อมีคนหนึ่งคนใดล่วงลับ มนุษย์จะให้เกียรติกับผู้ล่วงลับ โดยการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่จากโลกนี้ไปกำลังเดินทางไปพบกับความสุขในโลกหน้า ซึ่งคาทอลิกเรามีเชื่อว่าโดยอาศัยศีลล้างบาป เราจะสามารถ
ผ่านไปสู่ชีวิตพร้อมกับพระองค์โดยผ่านทางความตายของวิญญาณ ผู้ล่วงลับทุกคนที่ อยู่ในศีลในพรของพระ ได้ตายกับพระคริสตเจ้า
จะได้กลับมามีชีวิตใหม่พร้อมกับพระองค์ เหมือนกับที่พระคริสต เจ้าได้สิ้นพระชนม์ และทรงกลับคืนชีพใหม่ ดังนั้นพิธีกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการตั้งศพ การสวดภาวนาให้มิสซาปลง ศพ และการฝั่งศพ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาลักษณ์และเครื่องหมาย
แสดงให้เห็นว่าผู้ล่วงลับนั้น วันหนึ่งจะได้ กลับฟื้นคืนชีพใหม่ ซึ่งเป็นความหวังของชีวิตคริสตชน

ทำไมต้องจุดเทียน ??
เทียนเปรียบเสมือนแสงสว่างของพระคริสตเจ้า การจุดเทียนให้กับผู้ล่วงลับในวันเสกสุสาน เป็นการเตือนใจเราให้เปิดใจ
มองเห็นแสงสว่างของพระเป็นเจ้า รวมทั้งขอให้บรรดาผู้ล่วงลับทั้งได้เห็นแสงสว่างของพระเป็นเจ้า ด้วย นอกจากนั้น เทียนยังมีความหมายถึงการให้เกียรติแด่บรรดาผู้ล่วงลับอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าเดือนนี้เป็นเดือนพิเศษที่พระศาสนจักรของเราเปิดโอกาสให้
เป็นเดือนระลึกถึง บรรดาผู้ล่วงลับและวิญญาณ ที่ไม่มีใครนึกถึง

เป็นโอกาสดีที่พวกเราทุกคนจะร่วมกันสวดภาวนาและขอมิสซาให้กับบรรดาผู้ล่วงลับ ทั้งหลาย ญาติพี่น้อง และผู้ที่ไม่มีใครคิดถึง
เพราะพวกเขาเหล่านั้นไม่อยู่ในสถานะ ที่จะช่วยเหลือตัวเองให้พ้น จากความผิดบาปได้ มีเพียงพวกเราเท่านั้ น ที่สามารถช่วยเหลือ
พวกเขาได้ ดังนั้นพวกเราทุกคนควรจะระลึกถึง บรรดาผู้ล่วงลับ หรือญาติพี่น้องที่จาก มิใช่เฉพาะแต่เดือนผู้ตายเท่านั้น แต่ควร
ระลึกทุก ๆ วัน เพื่อพวกเขาจะได้ ไปอยู่กับพระเป็นเจ้าโดยเร็ววันและเมื่อพวกเขาได้รับชีวิตนิรันดรในสวรรค ์แล้วพวกเขาก็จะไม่ลืม
ที่จะสวดภาวนา ให้พวก เราเช่นกัน……..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น